วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
      ตอบ ทำให้ดิฉันมีความสะดวกในการส่งตออาจารย์เพระได้ส่งทางอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าจะไม่เวลาก็ตามงานในบล็อกเป็นงานที่ไม่ยาก เพื่อให้เราเข้าใจในการสรุปเรื่องที่อาจารย์ให้มา  เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและไม่ต้องเขียนในกระดาษอาจารย์จะตรวจตอนไหนก็ได้ เพื่อเกิดความสะดวกในการตรวจงาน

2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
       ตอบ  ทำให้มีความรู้ในการสร้างบล็อก ให้เกิดความรู้ในด้านเนื้อหา จัดรูปแบบการนำเสนองานในบล็อกของตนเองมีการตกแต่งบล็อกให้สวยงามใช้ภาพพื้นหลังที่ไม่มีลวดลายเยอะ เพื่อให้เนื้อหาอ่านง่าย น่าสนใจการใช้เครื่องมือในการเสนองานและวิธีการนำเสนองานได้หลากหลาย ได้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกเป็นการประหยัดเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์ และอาจารย์สอนเสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความรู้กับผู้เรียนที่สร้างขึ้น
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
      ตอบ ข้อดี   การเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน ถือว่ามีความสะดวกมากในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนให้เกิดความสุข ที่ได้เรียนรู้ในการสร้างบล็อกของตนเองที่สร้างความรู้ใหม่ๆให้กับนักศึกษาทุกคน เพราะอาจารย์สอนต่างจากอาจารย์อื่นๆ ทำให้ดิฉันรู้ในการตกแต่งบล็อกให้สวยงาม การสร้างเว็บบล็อกนั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว ในการนำเสนอเนื้อหาสาระ จะบอกเรื่องงานอดิเรก, แนะนำตัวเอง, เก็บความประทับใจจากการท่องเที่ยว ดิฉันจึงมีอิสระในการนำเสนอรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ซึ่งถือว่าได้เกิดจินตนาการในตนเองด้วยและยังสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ยังเป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ แต่วันนี้ดิฉันรู้จักและมีความรู้พอที่จะนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดิฉันจึงประทับใจในการทุ่มเทของอาจารย์มากที่สอนสิ่งที่ดี สิ่งที่ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทำให้ชีวิตการเป็นครูในอนาคตต่อไป

4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
       ตอบ


สอบครั้งที่ สอง

      
ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้                                                  
1. Classroom Management    หมายถึง การบริหารจัดการในชั้นเรียนการ (Classroom management ) ที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี                                             
 2. Happiness Classroom   หมายถึง   การจัดห้องเรียนให้มีความสุข                                                       
  3. Life-long Education  หมายถึง  การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)     การรับรู้ความรู้ ทักษะ   และเจตคติ    ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก     
4.formal Education   หมายถึง  การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ
  5. Non-formal education   หมายถึง   การศึกษานอกระบบหมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียน
 6. E-learning    หมายถึง     การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต      
 7. Graded    หมายถึง    การเรียนระดับชั้น
 8. Policy education    หมายถึง        นโยบายการศึกษา                                                                       
  9. Vision     หมายถึง   วิสัยทัศน์
 10. Mission   หมายถึง     พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals     หมายถึง   เป้าหมาย (GOAL)  คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ    
 12. Objective      หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ   
13.backward design     หมายถึง     การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
14.effectiveness  หมายถึง    การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง                             
 15. efficiency   หมายถึง  การทำงานอย่างมีประสิทธิผล 
 16.Economy   หมายถึง    เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค      
 17. Equity   หมายถึง    ความเสมอภาพ         
  การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน     
 19. Engagement หมายถึง   การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้น      
 20. project หมายถึง     แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย                 
21.Actives  หมายถึง     การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา         
22.Leadership    หมายถึง  ความสามารถในการเป็นผู้นำ     
23. leaders   หมายถึง    ผู้นำ     
  24. Follows    หมายถึง  ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง         
  25. Situations  หมายถึง   สถานการณ์        
 26. Self  awareness  หมายถึง    การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้    
  27. Communication        การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร  มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ  
28. Assertiveness   หมายถึง  การยืนยันในความคิดต่อ       
29. Time management   หมายถึง     การบริหารเวลา            
   30.  POSDCORB   หมายถึง    หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ  การสั่งการ  การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ    
31.  Formal Leaders   หมายถึง  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ  
32.  Informal Leaders   หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า      
33.  Environment    หมายถึง    สภาพแวดล้อม          
 34. Globalization    หมายถึง  โลกาภิสวัตถ์   การแพร่หลายไปทั่วโลก   
   33. Competency  หมายถึง   ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม                       
   34. Organization Cultural   หมายถึง   ของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ                                       
 35. Individual Behavior หมายถึง    พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ        
   36. Group Behavior  หมายถึง   พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี การจัดการสภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนพฤติกรรมที่หน่วยงานกำหนดให้ทำ และพฤติกรรมที่ต้องทำเร่งด่วน     
37. Organization Behavior    หมายถึง     พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working    หมายถึง    การทำงานเป็นกลุ่ม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกันและมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน”        
39. Six Thinking Hats      หมายถึง     หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้          
1.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น        
 2.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่
3.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์        
  4.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี       
    5.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม           
6.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking)      หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด         
 40. Classroom Action Research      หมายถึง  การวิจัยในชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
       1. Classroom management นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไรและเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom management (การจัดการชั้นเรียน) 
ตอบ คือ การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และเป็นการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน และภายนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  มีความสัมพันธ์กันการศึกษาจะต้องตรงกับความต้องการของเยาวชน Classroom management (การจัดการชั้นเรียน) มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนการสอนของเยาวชนในปัจจุบัน
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ ประกอบด้วยมาตรฐาน 2 ส่วนได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูมีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ เทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
     1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
    2.  การพัฒนาหลักสูตร
    3.  การจัดการเรียนรู้
    4.  จิตวิทยาสำหรับครู
    5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา
    6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน  
    7.  การวิจัยทางการศึกษา
    8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
    9. ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์ของครู ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
    1.  การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
    2.  การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
ตัวอย่างเช่น  เราควรที่จะพัฒนาตนเองให้แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น
             1)     รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
             2)    มีความเชื่อมั่นในตนเอง
             3)     แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
             4)    มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคมฯลฯ
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ตอบ 1. การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หมายถึง การจัดบริเวณสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งได้แก่ อาคารเรียน ห้องเรียน บรรยากาศโดยรอบสะอาดสวยงาม มีระเบียบ ปลอดภัยและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสภาพที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียน ทำให้นักเรียนสบายใจ มีความสุขส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3.ควร จัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพ แวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และ การเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดี ได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับ ชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการ อ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้ เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบาย เหมือนอยู่ที่บ้าน
            การจัดการชั้นเรียนที่ดีก็เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มบรรยายกาศในการเรียนรู้ของเด็กและมีความเอื้ออำนวยในการเรียนรู้ของเด็กเพราะบรรยากาศที่ดีจะทำให้เด็กมีสมาธิกับการเรียนมากขึ้น
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน โรงเรียนซึ่งมีบรรยากาศที่ดี จะทำให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกิดความรู้สึกพอใจภูมิใจ อบอุ่นใจ สบายใจ รู้สึกในความเป็นเจ้าของ และอยากมาโรงเรียนบริเวณโรงเรียน อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องประกอบ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งชี้วัดถึงลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี ได้แก่ ความชุ่มชื่น การถูกสุขลักษณะ ความร่มรื่น ความสวยงาม ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความสะดวก ฯลฯควรอยู่ภายใต้หลักการของ "การร่วมคิด ร่วมทำ" ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ผู้บริหารและคุณครูควรยอมรับว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ที่มีความรักความผูกพันและปรารถนาดีต่อโรงเรียนของเขา จึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตัดสินใจร่วมวางแผน จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนภายใต้การแนะนำของผู้บริหารและครูอาจารย์
              บริเวณภายในห้องและสภาพอาคารเรียนและความปลอดภัยส่วนในด้านความปลอดภัยคือจัดให้มีผู้รับผิดชอบในด้านอาคารและสถานที่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารและสถานที่ภายในห้องควรมีแสงสว่างไสวเพียงพอ ไม่จ้าจนเกินไปเพราะจะทำให้มีผลต่อสายตาเด็กอาจใช้ผ้าม่านเพื่อช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ไม่ควรเป็นห้องที่มืดจนเกินไป หากห้องมีลักษณะมืด ควรเปิดไฟ


5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ   1  ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
2. ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
5.ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
6.ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
7. ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
8.ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
9.การที่ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ  


6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  ปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดของมนุษย์  เพราะการศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนา  ความมั่นคง  ความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอันมาก  การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการสร้างพลังในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆ  ด้าน  ได้แก่  ร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  สังคม  และมีคุณธรรม  มีความรู้  จริยธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องตลออดชีวิต
เช่นโรงเรียนระดับประถมศึกษา เน้นเรื่องการประหยัดและอดออม ความมีระเบียบวินัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความซื่อสัตย์สุจริต การใฝ่รู้ใฝ่เรียน การเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรักษาประเพณี นิยมไทย ความเป็นไทยและมีมารยาทแบบไทย ความรับผิดชอบ รักความสะอาด มีสุขนิสัยที่ดี การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา เป็นต้น
ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษาเน้นเรื่อง ความมีระเบียบวินัยเป็นอันดับแรก ตามด้วยความรับผิดชอบ การมีสัมมาคารวะ ความซื่อสัตย์สุจริต การปฏิบัติตามหลักและคำสอนทางศาสนา เสียสละ เป็นต้น และมีคุณธรรมจริยธรรมอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาของกลุ่มสาระวิชาต่างๆ เป็นตัวเสริมให้คุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมีลักษณะที่กว้างขึ้นหรือเน้นย้ำคุณธรรมจริยธรรมที่กำหนดในระดับโรงเรียน เช่น เรื่องการกล้าแสดงออก การรู้จักใช้เหตุผลหรือการคิดอย่างมีเหตุผล การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เป็นต้น