วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสมเท่าที่ควร คือในยุกต์ปัจจุบันนี้มีความสะดวกสะบายมากในเรื่องของการบริโภคต่างๆมักจะไม่ค่อยคิดอะไรมากรวมถึงเรื่องประโยชน์ของสิ่งที่บริโภคนั้นซึ่งอาจมีโทษมากกว่าประโยชน์อีกด้วนซ้ำส่วนในพฤติกรรมสุขภาพเด็กในปัจจุบันไม่ค่อยใส่ใจกันมีเด็กจำนวนมากที่เป็นเด็กหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเด็กติดเกมส์หรือมีเยาวชนหรือผู้ใหญ่บางกลุ่มที่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นเรื่องที่สังคมพยายามอย่างมากที่จะหาทางแก้ไขในฐานะครูในอนาคตผมคิดว่าผมจะต้องเปลี่ยนแนวคิดของเด็กในอนาคตให้เห็นให้รู้และเข้าใจสิ่งที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคและการดูแลรักษาสุขภาพ

2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
จะถามว่าเด็กและผู้ใหญ่ไทย มี กีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง คิดว่าจะมีสักกี่คนสักกี่ครอบครัวที่ทำแบบนี้ได้บ้างคงจะมีน้อยมากในสังคมไทยอาจจะมีก็เช่นผู้ป่วยที่ต้องออกกำลังกายขยับกล้ามเนื้ออยู่ทุกวันเป็นประจำเพื่อรักษาอาการป่วย ในประเด็นนี้ฟังดูน่าสนใจมากเด็กไทยควรที่จะได้ฝึกและปฏิบัติอย่างเป็นนิสัยภายใต้การนำของครูพันธ์ใหม่ในอนาคต

3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
การควบคุมอารมณ์หรือการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัยของเด็กด้วยการที่จะปิดกั้นความรู้สึกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีนักอย่างเช่น การแข่งขันที่มีทีมหนึ่งชนะและทีมหนึ่งแพ้ผู้แพ้ย่อมเสียใจเป็นธรรมดาการจะแสดงอาการเสียใจเช่นร้องให้เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องที่ผิดมากนักเพียงแต่ว่าควรมีขอบเขตของการเสียใจด้วยไม่ฟุ้งซ่านโวยวายก็ถือว่าไม่มีอะไรเสีย หายหากวันหนึ่งเป็นได้เป็นครูสอนเด็กก็จะสอนให้เด็กมีความเข้าใจว่าการแสดงออกถึงความเสียใจนั้นเช่นการร้องให้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดและไม่ควรปิดกั้นอารมณ์นั้นแสดงออกมาตามที่รู้สึกถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุดแล้ว

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนั้นยังน้อยกว่า การส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมุ่งให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถจนบางทีลืมคิดไปว่าการสงเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นอาจจะยังน้อยไปหรือปล่าว หากถามว่าครูในอนาคตจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรผมคิดว่าควรส่งเสริมไปพร้อมๆกันไม่มีการสอนที่เคร่งเครียดมีกิจกรรมต่างๆที่จะทำให้เด็กมีความสุขสนุกและอยากเรียนอีก

5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ในประเด็นนี้คิดว่าการที่ครูจะทำความรู้จักกับนักเรียนควรทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆเวลาแค่ 2 สัปดาห์จะแยกคนที่มีความเสี่ยงออกมาได้ทั้งหมดนั้นคงไม่ได้ ส่วนคนที่ครูรู้และทราบประวัติเบื้องต้นถึงเด็กที่มีปัญหาแน่นอนว่าครูย่อมที่จะหาทางช่วยเหลือ หากตัวข้าพเจ้าเองได้เป็นครูจะมีแนวทางช่วยเหลือคือ คนที่มีผลการเรียนอ่อนจะจัดให้อยู่กับกลุ่มคนที่ได้ผลการเรียนดีๆ คนที่สุขภาพไม่ดีครอบครัวมีปัญหาก็จะช่วยอย่างเช่นเสนอชื่อขอรับทุนการศึกษาในโอกาสต่างๆพร้อมให้คำปรึกษาที่จะหาทางแก้ไขต่อไป ส่วนคนที่ได้ผลการเรียนดีนั้นหากจะลดความเสี่ยงเรื่องความเครียดนั้นคิดว่าควรที่จะให้ทำกิจกรรมกับเพื่อนมากๆให้คอยเป็นหูเป็นตาให้กับครูและช่วยเหลือเพื่อนอยู่เสมอ และคอยสั่งสอนว่าวันหนึ่งผลการเรียนอาจตกลงมาได้เป็นเรื่องที่ควรยอมรับไม่ต้องคิดมากทำชีวิตให้สนุกไว้ดีกว่า

6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดูแลช่วยเหลือเด็กและวิธีการให้เด็กนักเรียนมาช่วยงานก็เป็นวิธีที่ดีมากที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดกับครูหากตัวข้าพเจ้าเป็นครูก็จะนำวิธีนี้ไปปรับใช้เช่นกัน

7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
เท่าที่เห็นไม่มีความจริงจังมากนัก หากข้าพเจ้าเป็นครูจะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาเช่น การให้ฝึกสมาธิก่อนการเรียนการสอน การเข้าค่ายจริยธรรม และอื่นๆ

8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
เท่าที่เห็นที่ทราบมาการประเมินด้านสุขภาพกายและจิตใจมีความจริงจังอยู่ระดับมากพอสมควรโรงเรียนก็พยายามหาวิธีการต่างมาใช้ เช่นการออกกำลังกายตอนเช้าที่หน้าเสาธงเป็นประจำทุกวันเป็นการช่วยให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตั้งแต่เช้า

9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
เท่าที่เห็นยอมรับว่าไม่มีการประเมินที่เป็นแบบมาตรฐานมากนัก มีแค่ครูที่สังเกตุอยู่เช่นการให้ บอกสภาพบรรยากาศของห้องเรียนของโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัยของเด็กว่ามีสภาพอย่างไรตามความรู้สึกของเด็กหากพบว่าเด็กมีความคิดเห็นอย่างเช่นว่า ห้องเรียนไม่ค่อยน่าอยู่ก็จะช่วยกันตกแต่งใหม่ให้ดูมีบรรยากาศที่น่าเรียนยิ่งขึ้นและปลูกจิตสำนึกในการดูแลชุมชนด้วยอีกทางหนึ่ง


สรุป จากประเด็นข้างบนนี้ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
การส่งเสริมเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเด็กวันหนึ่งหากเราจบไปเป็นครูก็คิดว่าจะหาแนวทางและเทคนิคต่างๆที่มุงพัฒนาเด็กมาปรับใช้อย่างเต็มที่

กิจกรรมที่ 12

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๑. เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
๒. ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 ๓. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 


แผนการแผนการจัดการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้  ภาษาไทย                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางภาษา  หลักและวิธีการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์ และกลอน
ใช้สอนวันที่  ๒๗   สิงหาคม  ๒๕๕๑                                             จำนวน ๑ ชั่วโมง 
………………………………………..
  สาระสำคัญ
            บทร้อยกรอง เป็นคำประพันธ์ที่แต่งขึ้นตามลักษณะบังคับของฉันทลักษณ์ บทร้อยกรองของไทย ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ฯลฯ การแต่งคำประพันธ์เป็นภูมิปัญญา และเป็นมรดกทางภาษาของชาติที่คนไทยควรอนุรักษ์ด้วยความภูมิใจ
  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            ๑.    อธิบายลักษณะคำประพันธ์และหลักการแต่งคำประพันธ์กลอนได้
              สาระการเรียนรู้
            ๑.    การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์
Ø  กาพย์ฉบัง ๑๖
๔. กิจกรรมการเรียนการสอน
            ๑ ครูทบทวนกาพย์ฉบัง ๑๖ จากเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว
เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน                          เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคียง
              เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง                                           เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟังวังเวง
              กลางไพรไก่ขันบรรเลง                                       ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
                                                                                                (กาพย์พระไชยสุริยา)
            ๒. ให้นักเรียนเขียนแผนผัง และโยงเส้นสัมผัสบังคับ นักเรียนวิเคราะห์ว่าบทประพันธ์นี้มีความไพเราะด้านเสียงสัมผัสใน คือ สัมผัสสระ และสัมผัสอักษรอย่างไร และใช้ถ้อยคำสำนวนเปรียบเทียบให้เห็นภาพหรือให้ได้ยินเสียงอย่างไร
          ๓.ให้นักเรียนจับคู่กัน แล้วช่วยกันแต่งกาพย์ฉบัง ๑๖ ชมความงามของดอกไม้ที่นักเรียนชอบ             คู่ละ ๒ บท
  สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
            ๑.    ใบงานกาพย์ฉบัง ๑๖
            ๒.   แผนผังกาพย์ฉบัง ๑๖   
  การวัดและประเมินผล
            ๑.    วิธีวัดและประเมินผล
Ø  จากการร่วมกิจกรรม
Ø  การแต่งคำประพันธ์
            ๒.   เครื่องมือวัดและประเมินผล
Ø  แบบประเมินการร่วมกิจกรรม
Ø  แบบประเมินการแต่งคำประพันธ์

กิจกรรมที่ 10


เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์
กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
 
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ ๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่  และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา  ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.  ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่  คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่  รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี         พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม  คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง  ต่อ  และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑

๒. กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เพราะนายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือเดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอันเป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
         คิดว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
        เป็นความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
         ทำให้นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทางทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily)โดยระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
          ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา (ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น

3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
          สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง  ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
          “ผมคิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว
กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร

4)  กรณี คนไทย ๗ คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก ๒ ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่  ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี   คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ  คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง
อย่างไรก็ดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง  คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว
ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คนไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน

กิจกรรมที่9


ประเด็นสำคัญที่ได้จากการเรียนการสอนโทรทัศน์ครูเรื่อง  “ มอนเตสเซอรี่วิถีไทย ”
     การเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่    เป็นการเน้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสุข  จึงได้นำการเรียนรู้ผ่านของเล่นมาประยุกต์เข้ากับทฤษฎีมอนเตสเซอรี่ในโรงเรียน  เป็นการนำมอนเตสเซอรี่มาใช้ในบริบทแบบไทยๆ เน้นการเรียนรู้ผ่านของเล่น เช่น การจับคู่ขนมไทย  การจัดดอกไม้  การร้อยมาลัย  การทำอาหาร ฯลฯ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการใช้ความคิด การสังเกต ทำให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้และการช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

หากไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่าอาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร
           จะต้องเป็นครูที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสอน  มีความรู้หลายด้าน  มีอัธยาศัยที่ดี  เข้าใจเด็กๆคอยชี้แนะปลูกฝังให้เด็กใช้ชีวิตตามแบบวิถีไทย  คอยพูดชักจูงให้เด็กมีความสนใจอยู่ตลอดเวลา  และที่สำคัญต้องให้อิสระกับเด็กในการเลือกของเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการตามที่เด็กสนใจเพื่อให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้

จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
     จะนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการสอน  และจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง มีการปรับปรุงการสอนที่หลากหลาย   และจะปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์      

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
                วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์การนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
   แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20
 ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
 จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
จะเห็นได้ว่าหากผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างมีความชัดเจน วัฒนธรรมดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและได้รับการดูแลให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ในขณะที่ผู้นำซึ่งมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การแต่ยังไม่มีความชัดเจนในวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างขึ้น กรณีนี้ผู้นำจะให้ความสนใจต่อการกำหนดทิศทางของ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน